วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2562

1.4 หน่วยวัด

หน่วยและการวัด
การกำหนดมาตรฐานเพื่อเป็นหน่วยกลางทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า หน่วยระหว่างชาติ ( International System of Units หรือ  System - International  d' Unites ) และกำหนดให้ใช้อักษรย่อแทนชื่อระบบนี้ว่า  "SI" หรือหน่วยเอสไอ (  SI  unit )  เพื่อใช้ในการวัดทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ระบบหน่วยระหว่างชาติ หรือเอสไอ ประกอบด้วย หน่วยฐาน หน่วยเสริม หน่วยอนุพัทธ์  และคำอุปสรรค ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. หน่วยฐาน (Base Units) เป็นหน่วยหลักของเอสไอ ทั้งหมด หน่วย ดังตาราง
ตารางชื่อและสัญลักษณ์ของหน่วยฐาน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตารางชื่อและสัญลักษณ์ของหน่วยฐาน
2. หน่วยเสริม (Suppilmentary Units)
หน่วยเสริมของระบบ SI  มี หน่วย คือ
1. เรเดียน (Radian  : rad)   เป็นหน่วยวัดมุมในระนาบ
                                                    กำหนดให้
                                                  r   คือ รัศมีของวงกลม
            
                      q  คือ มุมในระนาบที่จุดศูนย์กลางของวงกลม                     s  คือ ความยาวส่วนโค้งของวงกลมที่รองรับในระนาบ q

                       โดย  q  มีหน่วยเป็นเรเดียน ( rad )
                    มุม เรเดียน คือ มุม q  ที่รองรับความยาวโค้ง  s  ที่มีความยาวเท่ากับรัศมีของวงกลม




2. สตีเรเดียน (Steradian : sr) เป็นหน่วยวัดมุมตัน
                                      กำหนดให้
              P   คือ  จุดศูนย์กลางของทรงกลม
              R   คือ  รัศมีของทรงกลม
              q   คือ มุมตัน มีรูปร่างเป็นวงกลมที่จุดศูนย์กลางของทรงกลม
              A   คือ พื้นที่ผิวของทรงกลมที่รองรับมุมตัน q
                                         โดย  q   มีหน่วยเป็นสตีเรเดียน  (sr)
                                                            มุม สตีเรเดียน คือ มุม ที่รองรับพื้นที่ผิวของทรงกลม A ที่มีขนาดเท่ากับขนาดของรัศมีของทรงกลมกำลังสอง
3. หน่วยอนุพันธ์ (Derived Units)
เป็นหน่วยซึ่งมีหน่วยฐานหลายหน่วยมาเกี่ยวข้องกัน เช่น หน่วยของความเร็วเป็น เมตร/วินาที ซึ่งมีเมตรและวินาทีเป็นหน่วยฐาน หน่วยนี้มีอยู่หลายหน่วยและบางหน่วยก็ใช้ชื่อและสัญลักษณ์เป็นพิเศษ เช่น     
                   ความเร็ว          มีหน่วยเป็น       เมตรต่อวินาที    ( m/s  )
                   แรง               มีหน่วยเป็น       กิโลกรัม เมตรต่อวินาทีกำลังสอง ( kg.m/s2 )  หรือนิวตัน ( N )
                   กำลัง             มีหน่วยเป็น       จูลต่อวินาที( J/s ) หรือ วัตต์ ( w )

ตัวพหุคูณและคำอุปสรรค
ตัวพหุคูณ คือ 10n เป็นการเขียนเพื่อลดรูปปริมาณที่ใหญ่มากๆ หรือเล็กมากๆ  เช่น
40000000000           m  = 4 x 1010    m
0.04                                     m =  4/100  =  4 x 10-2  m

คำอุปสรรค คือ สัญลักษณ์แทนค่าตัวพหุคูณบางค่า เช่น
k ( กิโล )         = 103
                    m ( ไมโคร )      = 10-6
ตาราง ตัวพหุคูณ และคำอุปสรรค
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตาราง ตัวพหุคูณ และคำอุปสรรค
                    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น